Trace and Part of Me

Photo by Rawisuda Photo by Kommanee

Exhibition by Chiang Mai University students

4 Oct – 5 Nov | Mon – Sun 11am-7pm | Closed Wednesday |  Map

[wptab name=’English’]

Current exhibition

Trace: R3A Road in Thailand – Rawisuda Chantima

The Eleventh National Economic and Social Development Plan aims to increase ASEAN integration. One of the ways it plans to do this is by joining three countries in one road project named “R3A Road”. It is recognized as an important transportation route connecting three countries: Thailand, Laos and China. Road R3A begins in Chiang Khong (Chiang Rai province) and connects Bo Keaw, Luang Nam Ta, Bo Then in Laos, Bo Han, Jing Hang in Xishuangbanna and ends in Kunming, China.

Chiang Khong was a place I was longing to go. I was very interested in the old city with local traditions, surrounded by peaceful natural landscapes. When I visited, I saw that many things had completely changed due to the construction and development, such as the landscape, the people working in the area and the level of private investment.

จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ได้กล่าวถึงการปรับตัวสู่เสรีการค้าอาเซียนที่กำลังจะเปิดอย่างเป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ จึงทำให้ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวและจีนที่เล็งเห็นถึงการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นผ่านทางเชื่อมต่อทั้งสามประเทศได้มีโครงการร่วมกันในการสร้างถนนสาย R3A (เส้นทาง ìR3Aî ในไทยเริ่มต้นที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ตัดเข้าสู่ สปป.ลาว ที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว เส้นทางยาวไปจนถึงเมือง บ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทาก่อนตัดเข้าจีนที่บ่อหาน อ.เชียงรุ้ง ในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลคุนหมิง )

ทำให้ข้าพเจ้าสนใจที่จะศึกษาในเรื่องของการสร้างถนนสาย R3A เพราะในอดีตนั้นอำเภอเชียงของเป็นเมืองเก่าที่เคยเงียบสงบ ผู้คนใช้ชีวิตอย่างราบเรียบ ไม่วุ่นวาย เป็นบรรยากาศของชนบท ที่ถือเป็นภาพลักษณ์ของอำเภอเชียงของตลอดเวลาที่ผ่านมา ประชากรในพื้นที่อยู่กินแบบพึ่งพาตัวเอง และเอื้อเฟื้อต่อกันมาตลอด เมื่อเกิดการสร้าง พัฒนา และปรับเปลี่ยนตามโครงการสร้างถนน R3A สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้ามองเห็นคือเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ พื้นที่ สภาพภูมิทัศน์ การเข้ามาของคนนอกพื้นที่การลงทุนในธุรกิจของบริษัทเอกชนต่างๆ มีมากขึ้น

Part of Me – Kommanee Puttapata

“Cosplay” is a combination of the word “costume” and “play” which means “playing with costumes”. But the more clear definition of it is impersonation as an express of admiration and devotion by dressing up like a character from anime, video games, bands, novels, or movies and also impersonating the character. Thus cosplaying brings the imagination world to real life by expressing through the impersonation of ones favorite characters, and brought oneself even closer to that character.

Cosplay is a Japanese invented word and it is an internationally recognised term. It is a growing subculture. At the moment, Cosplay is widely popular in a specific group as a leisure activity. There are clubs and frequent gatherings especially in Asia. In Thailand, the Cosplay movement also started around ten years ago.

Cosplay(คอสเพลย์) มาจากการผสมระหว่างคําว่า costume ที่แปลว่าเครื่องแต่งกาย และคําว่า play ที่แปลว่าเล่น ดังนั้น costume + play หรือ cosplay ก็จะหมายถึง ”การเล่นเสื้อผ้า“ แต่หากจะนิยามให้ชัดเจนที่สุด คอสเพลย์ หมายถึง “การแต่งตัวเลียนแบบ” ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรักความชอบ โดยการเลียนแบบตัวละครจาก การ์ตูน เกมส์ วงดนตรี นวนิยายหรือภาพยนตร์ รวมไปถึงการเลียนแบบกิริยา ท่าทาง บุคคลิกต่างๆของตัวละครอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองการคอสเพลย์จึงเปรียบเหมือนการนําโลกแห่งจินตนาการสอดผสานสู่โลกแห่งความจริง โดยแสดงออกผ่านการแต่งกายเลียนแบบตัวละครที่ตนเองชื่นชอบ เพื่อการเข้าใกล้ตัวละครนั้นอย่างสมบูรณ์

คอสเพลย์เป็นคําที่ญี่ปุ่นนั้นประดิษฐ์ขึ้นมา และยังถือว่าเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับในทางสากล เป็นวัฒนธรรมย่อยที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันคอสเพลย์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่คนเฉพาะกลุ่ม มีสถานะเป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่ง โดยมีการรวมตัวกันเป็นชมรม สมาคม และจัดกิจกรรมกันเป็นประจําอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย ในประเทศไทย ความเคลื่อนไหวของคอสเพลย์เริ่มมีเมื่อประมาณ10 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน

 

[/wptab]

[wptab name=’Thai’]

ไม่เร่ร่อน…อีกต่อไป

ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงได้เข้ามาสู่ประเทศมองโกเลียอย่างรวดเร็ว ด้วยทรัพยากรถ่านหิน ทองแดง และทองคำ ที่มีมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ทำให้มองโกเลียได้กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่ง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลกระทบต่อประชากรในประเทศทางด้านบวกหรือไม่ และผลกระทบกับวัฒนธรรมมองโกเลียจะเป็นเช่นไร

กลุ่มคนเลี้ยงสัตว์ชาวมองโกเลียถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยังคงวัฒนธรรมพเนจรเอาไว้ ซึ่งมีหลงเหลืออยู่น้อยแล้วในโลกนี้ ตลอดหลายพันปี พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ในทุ่งราบใหญ่ และปล่อยให้สัตว์เลี้ยงกินหญ้าในทุ่งหญ้าอันเขียวชอุ่ม แต่วันนี้ วิถีการดำเนินชีวิตตามประเพณีที่มีมากำลังถูกคุกคามจากหลายปัจจัย

นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศ และพื้นที่ที่ปรับเปลี่ยนกลายเป็นทะเลทรายส่งผลต่อการดำเนินชีวิตแบบเร่ร่อนของคนกลุ่มนี้ ทั้งยังคร่าชีวิตสัตว์เลี้ยง และทุ่งหญ้าอันเขียวชอุ่มด้วยเช่นกัน คนเลี้ยงสัตว์หลายพันคนยอมที่จะแลกวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ดำเนินมาหลายศตวรรษกับการทำงานในเหมืองแร่ และรับจ้างในเมืองใหญ่ เนื่องจากฤดูหนาวที่โหดร้าย และพื้นที่เลี้ยงสัตว์ที่มีน้อยลง

ชุมชนกระโจมมองโกเลีย หรือ “เกอร์” ที่ล้อมรอบเมืองหลวง “อูลานบาตอร์” เป็นที่พักอาศัยถาวรของคนเลี้ยงสัตว์พลัดถิ่น พวกเขาดำเนินชีวิตโดยไม่มีน้ำประปาใช้ และทักษะ หรืออุปกรณ์ที่พวกเขาเคยปฏิบัติ หรือเคยใช้ในทุ่งราบก็ไม่มีประโยชน์ที่ชุมชนแห่งนี้ ที่สำคัญ เด็กรุ่นใหม่ต่างเลิกเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอันเป็นมรดกจากวัฒนธรรมพเนจร

[/wptab]

[end_wptabset]